เทคนิคเทรด ที่เน้นการวิเคราะห์แบบ Cross-Rate ที่ง่ายที่สุด

เทคนิคเทรด ที่เน้นการวิเคราะห์แบบ Cross-Rate ที่ง่ายที่สุด

เทคนิคเช็ก คู่เงินฟอเร็กซ์ที่ปิดในรูปแบบเบรกเอาต์”

สวัสดีครับ พี่ ๆ สายเทรดสั้นทุกคน วันนี้น้อง เทรดสั้น ขยันซอย จะมาพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับ

  • คู่เงินฟอเร็กซ์ที่ปิดในรูปแบบเบรกเอาต์”
  • โดยจะเน้นไปที่คู่เงินหลัก (Major Currency Pairs)
  • เราจะจับตาโดยเฉพาะเมื่อคู่เงินเหล่านี้ปิดในลักษณะเบรกเอาต์ในช่วงต้นสัปดาห์ (Front Side) หรือปลายสัปดาห์ (Back Side) ครับ

คู่เงิน Cross-Rate คือ คู่สกุลเงิน ที่ไม่มีสกุลเงิน USD อยู่ในคู่

ซึ่งวิธีนี้ยังทำให้เทรดเดอร์ สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์คู่เงินครอสเรต (Cross Rate) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการหาจุดเข้าและตั้งค่าการเทรดได้อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยคร้าบ

คู่เงินที่สำหรับ การเทรดแบบ Signal Days!

สิ่งที่สำคัญที่สุดของเทรดเดอร์ก็คือ การค้นหาว่า คู่เงินไหนที่มีโอกาสนำไปสู่การเทรดที่ สามารถขยายผลได้ (Scalable) และมีศักยภาพสูง เช่น รูปแบบ พาราโบลิค (Parabolic Trading Setups)

จากภาพนี้พี่ ๆ จะเห็นได้ว่า จุด (dots) จะย้ายจากตำแหน่ง ใต้แท่งเทียนในช่วงขาขึ้น ไปอยู่ เหนือแท่งเทียนเมื่อแนวโน้มเปลี่ยนเป็นขาลง

ทริกง่าย ๆ ที่นำไปใช้ได้ทุกคน

  • เช็กปฏิทินเศรษฐกิจ (Economic Calendar) เพื่อดูเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่อาจสร้าง Signal Days ขึ้นมาได้
  • วิเคราะห์กราฟและระบุแนวโน้มในคู่เงินที่มีโอกาสขยายผลสูง เช่น JPY, AUD, NZD
  • ติดตาม “Breakouts” ที่เกิดขึ้นในวันก่อนหน้า เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์

การมีวินัยพยายามจับตาสิ่งเหล่านี้เป็นประจำทุกวัน จัดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากนะครับ เพราะจะทำให้เทรดเตรียมพร้อมรับโอกาสและหลีกเลี่ยงการพลาดจังหวะสำคัญในตลาดไปได้

 

กลยุทธ์นี้จะเน้นการซื้อ-ขายในตลาดเอเชีย

ในตลาดเอเชีย คู่สกุลเงินหลักที่ “มัก” มีปริมาณการซื้อขายสูง ที่น้องไปหามา คือ

USD/JPY (ดอลลาร์สหรัฐ/เยนญี่ปุ่น)

เพราะญี่ปุ่นเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญในเอเชีย ทำให้คู่สกุลเงินนี้มีการซื้อขายอย่างหนาแน่น

AUD/USD (ดอลลาร์ออสเตรเลีย/ดอลลาร์สหรัฐ)

ออสเตรเลียมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชียสูง ทำให้คู่สกุลเงินนี้มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วงตลาดเอเชีย

NZD/USD (ดอลลาร์นิวซีแลนด์/ดอลลาร์สหรัฐ)

ด้วยความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจกับเอเชีย คู่สกุลเงินนี้จึงมีการซื้อขายที่คึกคักในบางช่วงเวลา

คู่สกุลเงินหลักเหล่านี้ มักมีการปิดตลาดในลักษณะ “breakout” หรือการทะลุกรอบราคาเดิม เทรดเดอร์สามารถตรวจสอบคู่สกุลเงินครอส (Cross Currency Pairs) อื่น ๆ เพื่อหาสัญญาณการซื้อขายเพิ่มเติมได้ตามจังหวะและเวลาคร้าบ

สัญญาณการซื้อขายที่พี่ ๆควรสังเกต คือ

First Red Day (วันแดงแรก) เป็นวันที่ราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด หลังจากที่มีแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่อง แสดงถึงความเป็นไปได้ที่แนวโน้มอาจกลับตัวลง / First Green Day (วันเขียวแรก) เป็นวันที่ราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด หลังจากที่มีแนวโน้มขาลงต่อเนื่อง แสดงถึงความเป็นไปได้ที่แนวโน้มอาจกลับตัวขึ้น

การสังเกตสัญญาณเหล่านี้ จะทำให้เทรดเดอร์ระบุโอกาสในการเข้าและออกจากตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นคร้าบ

ขอแนะนำเทคนิค Price Action

Price Action พูดง่าย ๆ มันก็คือ “การเคลื่อนไหว” ของ “ราคา” นั่นแหละครับ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่อธิบายถึงลักษณะการเคลื่อนไหวของตลาด รวมถึงแนวโน้ม (Trends) และจุดสำคัญอย่าง แนวรับ (Support) และ แนวต้าน (Resistance) ด้วย

แต่การเทรดฟอเร็กซ์ด้วย Price Action นี้ ยังรวมถึง สัญญาณซื้อและขาย ที่เกิดขึ้นในตลาดด้วยครับเมื่อเราจับสัญญาณเหล่านี้มามิกซ์เข้ากับระดับ Key Levels และ Momentum เราจะได้สไตล์การเทรดที่ทั้งเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ มาดูแนวทางการเทรด 3 เสต็ปนี้กันเลยครับ

สิ่งแรกที่ควรทำหลังจากเปิดกราฟใหม่ คือ การกำหนดเส้นแนวรับและแนวต้าน (Support & Resistance)

 

ขั้นตอนที่ 1 แนวรับและแนวต้าน
สิ่งแรกที่ควรทำหลังจากเปิดกราฟใหม่ คือการตี แนวรับ (Support) และ แนวต้าน (Resistance) ซึ่ง แนวรับและแนวต้านเหล่านี้อาจรวมถึง

  • เส้นแนวโน้ม (Trend Lines)
  • พื้นที่แนวนอน (Horizontal Areas)
  • รูปแบบกราฟ (Patterns) เช่น ช่องราคาขาขึ้น (Ascending Channel) หรือขาลง (Descending Channel)

ต่อมาเมื่อพี่ ๆ ระบุพื้นที่บนกราฟได้แล้ว ต่อไปก็เป็นการรอจังหวะที่เหมาะสมคร้าบ

ขั้นตอนที่ 2 รอให้เซสชันรายวันปิด

ความอดทน เป็นสิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้ครับ และจุดนี้แหละเป็นจุดที่เทรดเดอร์ฟอเร็กซ์ส่วนใหญ่มักทำพลาด ถ้าพี่ ๆ ต้องการเทรดในกรอบเวลา Daily Time Frame ก็จำเป็นต้องรอให้เซสชันรายวันปิดก่อน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีการใช้กราฟแบบ New York Close ก็หมายความว่าแต่ละรอบการเทรด 24 ชั่วโมงจะปิดที่เวลา 17:00 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (EST)

ขั้นตอนที่ 3 ให้หาสัญญาณซื้อ-ขายจาก Price Action

เมื่อพูดถึงสัญญาณซื้อ-ขายในรูปแบบแท่งเทียน (Candlestick Patterns) สัญญาณที่เราอยากแนะนำ คือ Pin Bar และรองลงมาคือ Engulfing Pattern ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบนี้มีความคล้ายคลึงกันมากกว่าที่พี่ ๆ คิด

Pin Bar เป็นแท่งเทียนที่มีไส้เทียนด้านบนหรือด้านล่างยาว บางครั้งเราเรียกส่วนนี้ว่า หาง (Tail) และนี่ก็คือสิ่งที่ทำให้แท่งเทียนรูปแบบนี้สามารถทำกำไรได้อย่างดี

และเมื่อผู้ซื้อดันราคากลับขึ้นไปเหนือแนวรับสำคัญได้สำเร็จ สิ่งนี้ก็จะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของ อุปสงค์ (Demand) ในตลาด

แต่ในกรณีนี้ ไส้เทียนที่ยาวออกมาบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของ อุปทาน (Supply) ในตลาด

เมื่อเทรดด้วยสูตร Price Action พี่ ๆ ควรมองหา Bullish Pin Bars ที่บริเวณแนวรับ (Support) และ Bearish Pin Bars ที่บริเวณแนวต้าน (Resistance) และอย่าลืมให้ความสำคัญกับ Momentum ของตลาดด้วย

พี่ ๆ จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 สัญญาณข้างต้นให้ อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน (Risk to Reward Ratio) ที่น่าสนใจมากเลยครับ ลองสังเกตดูว่าไส้เทียน (Wicks) ยาวแค่ไหนเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหวของราคาโดยรอบ

ถึงแม้จะมีรูปทรงที่แตกต่างกัน แต่ Engulfing Signal ก็คล้ายกับ Pin Bar ตรงที่มันบอกถึงการเพิ่มขึ้นของ อุปสงค์ (Demand) หรือ อุปทาน (Supply)

ทำให้ แท่งเทียนแบบ Engulfing เป็นวิธีที่ดีในการระบุจุดที่แนวโน้มเริ่มแสดงอาการ อ่อนแรง (Exhaustion) ในตลาด ครับ

การใช้ Forex Price Action เพื่อประเมิน Momentum

น้องต้องขอบอกพี่ ๆ ก่อนเลยครับว่า Price Action เองก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบ เพราะสามารถให้สัญญาณที่ผิดพลาดได้เช่นกัน เนื่องจากไม่มีวิธีการ หรือกลยุทธ์การเทรดใดที่แม่นยำ 100% แต่อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของน้อง Price Action เป็นวิธีที่เชื่อถือได้มากที่สุดในการวิเคราะห์ Momentum แล้วครับ

โดยการใช้กรอบเวลา Daily เพื่อระบุ จุดสูงสุด (Swing Highs) และ จุดต่ำสุด (Swing Lows)

  • ตอนนี้เรากำลังมองหาจุดที่ตลาดเปลี่ยนทิศทาง
  • ช่วงเวลาระหว่างจุดเหล่านี้อาจอยู่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์จนถึงไม่กี่เดือน

ทำการวิเคราะห์ย้อนหลังประมาณ 6 เดือน

  • เมื่อทำการวิเคราะห์เสร็จแล้ว พี่ ๆ ก็จะเริ่มเห็นรูปแบบปรากฎขึ้นมา

วิเคราะห์แนวโน้ม (Trend)

ตราบใดที่ตลาดทำ จุดสูงสุดที่สูงขึ้น (Higher Highs) และ จุดต่ำสุดที่สูงขึ้น (Higher Lows) แสดงว่าตลาดอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) นั่นเองครับ

พี่ ๆ อาจเข้าซื้อตรงนี้ครับ ถ้าตลาดกำลังสร้าง จุดสูงสุดที่ต่ำลง (Lower Highs) และ จุดต่ำสุดที่ต่ำลง (Lower Lows) แสดงว่าตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

 

และพี่ ๆ ควรขายในสถานการณ์นี้ เพราะจุดสูงสุด (Swing Highs) และ จุดต่ำสุด (Swing Lows) เหล่านี้มักจะสร้างเส้นแนวโน้ม (Trend Line) ขึ้นมา และเมื่อมันเกิดขึ้น การระบุการกลับตัวของแนวโน้มก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายมากเลยครับ

สรุปจุดเข้าทำกำไร (Entry Points)

1. Breakout

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อราคาของ Cross Pair (คู่เงินที่เลือก) ทะลุกรอบแนวรับหรือแนวต้านอย่างชัดเจน และจะมาพร้อมกับปริมาณการซื้อขาย (Volume) เพิ่มขึ้น

ตัวอย่าง

  • ถ้า EUR/GBP ทะลุแนวต้าน ที่ 0.8600 นักลงทุนสามารถเข้า Buy ได้
  • แนะนำให้ใช้ Stop Loss ต่ำกว่าระดับแนวต้านที่ทะลุ (กรณี False Breakout)

2. Reversal จากแนวรับหรือแนวต้าน

เมื่อราคากลับตัวจากแนวรับ (Support) หรือแนวต้าน (Resistance) และแสดงสัญญาณกลับตัว เช่น Hammer, Engulfing, หรือ RSI Divergence

ตัวอย่าง

  • ถ้า AUD/JPY ลงมาถึงแนวรับที่ 88.50 และเกิดแท่งเทียนกลับตัว (Bullish Engulfing) ให้เข้า Buy ใกล้แนวรับ
  • วาง Stop Loss ต่ำกว่าแนวรับ 10-20 Pips

3. Moving Average Crossover (เส้นค่าเฉลี่ยตัดกัน)

เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น (เช่น EMA 10) ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว (เช่น EMA 50)

ยกตัวอย่าง

  • ถ้า GBP/JPY มี EMA 10 ตัด EMA 50 ขึ้น นักลงทุนสามารถพิจารณาเข้า Buy ได้

4. Overbought/Oversold จากอินดิเคเตอร์ (เช่น RSI, Stochastic)

เมื่ออินดิเคเตอร์ RSI อยู่ในโซน Overbought (มากกว่า 70) หรือ Stochastic ขึ้นไปอยู่ระดับ 80 หรือสูงกว่า

ตัวอย่าง

ถ้า AUD/JPY อยู่ในภาวะ Overbought หลังจากราคาขึ้นแรง ให้พิจารณาปิดกำไรในฝั่ง Long

สรุป

ด้วยการใช้เทคนิคนี้ พี่ ๆ ก็จะปล่อยให้ Price Action เป็นตัวบอกทิศทางเอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้อินดิเคเตอร์ Momentum ที่ซับซ้อนหรือสิ่งอื่น ๆ ใดเลยครับ ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ

อยากดูคลิปฉบับเต็ม ตามไปได้เลยคร้าบ The BEST Forex Trading Strategy (KEEP IT SIMPLE!!)

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *